หน่วยที่ 2


ความเป็นมาของเทคโนโลยีทางการสอน (Antecedents of Instructional Technology)
ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมาได้เกิดมีแนวคิดที่เป็นหลักใหญ่อยู่ 3 ทาง ซึ่งทำให้เกิดขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการสอนขึ้นแนวคิดนั้นคือ
1.             มโนทัศน์ในการออกแบบการสอนเพื่อผู้เรียนโดยตรง แทนที่จะเป็นการออกแบบโสตทัศนวัสดุสำหรับผู้สอน
2.             การพัฒนาในทฤษฎีการเรียนรู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปของสกินเนอร์ (B.F. Skinner) เพรสซี (Sidney L. Pressey) คราวเดอร์ (N.A. Crowder) และนักจิตวิทยาการศึกษาอื่นๆ
3.             อิทธิพลของสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีด้านเครื่องมืออุปกรณ์เป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลต่อกระบวนการวิเคราะห์งาน (task analysis) การฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ (effective training) และเทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ (new communication technology) ต่อมาสิ่งเหล่านี้ได้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการเข้าสู่ระบบ (system approach)
เน้นที่การเรียน (Learning Orientation)
ดั้งเดิมนั้นการเรียนรู้มีผลมาจากการสอน ผู้สอนจึงเป็นแหล่งข้อมูลและเนื้อหาความรู้ทั้งหลายตลอดจนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้วย ต่อมา หนังสือ สิ่งพิมพ์ และสื่อต่างๆ มีความสามารถในการเป็นแหล่งข้อมูลมากขึ้น ผู้สอนก็ยังเป็นสื่อกลางที่ถ่ายทอดความรู้ให้ผุ้เรียน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีแหล่งข้อมูลก้าวหน้ามากขึ้นเก็บข้อมูลได้มากขึ้นและถ่ายทอดความรู้โดยตรงให้แก่ผู้เรียนได้บทบาทของผู้สอนจึงต้องเปลี่ยนไป ผู้สอนไม่ใช่เป็นแหล่งข้อมูลและถ่ายทอดข้อมูลความรู้เหล่านั้นอีกต่อไป แต่เป็นผู้ชี้แนวทางในการเรียนและชี้แนะแหล่งข้อมูลให้ผู้เรียนด้วย โดยอาจยังถ่ายทอดความรู้บางส่วนอยู่ผู้สอนช่วยผู้เรียนได้ในการทำให้ข้อมูลเหล่านั้นเป็นลำดับขั้นตอนหรือทำให้ง่ายและเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นในปัจจุบันผู้สอนจึงมีบทบาทในการวางแผนจัดทำหลังสูตรแนะแนวผู้เรียน ประเมินผลผู้เรียน โดยลดบทบาทผู้เสนอเนื้อหาความรู้ลง
การพัฒนาด้านทฤษฎีการเรียนรู้
ได้มีการศึกษาในทฤษฎีการเรียนรู้มากขึ้นในปี ค.. 1950 กว่าๆ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) แห่ง Harvard University ได้เสนอหลักการของสิ่งเร้า และการตอบสนอง (S-R) ต่อการเรียนการสอน และเขายังได้สร้างกระบวนการในการให้พฤติกรรมนั้นคงอยู่โดยการเสริมแรงเป็นระยะจากหลักการ S-R นี้ได้มีการสร้างบทเรียนโปรแกรมแบบเส้นตรงขึ้นโดยให้ผู้เรียนได้มีการตอบคำถามที่ถูกต้องบทเรียนโปรแกรมกล่าวไว้อย่างละเอียดในบทว่าด้วยบทเรียนโปรแกรม
โดยทั่วไปบทเรียนโปรแกรมแบบเส้นตรงเหมาะสมสำหรับผู้เรียนที่มีพื้นฐานเหมือนกัน ต่อมา คราวเดอร์ (Norman Crowder) ได้สร้างบทเรียนโปรแกรมแบบสาขาขึ้นในต้นทศวรรษที่ 1960 โดยอยู่บนหลักการของทฤษฎีสนาม (Gestalt psychology) ซึ่งเป็นบทเรียนโปรแกรมที่เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีพื้นฐานแตกต่างกันและมีจุดมุ่งหมายต่างๆกันออกไป บทเรียนโปรแกรมของเขานั้นเดิมเรียกว่า “Intrinsic Programming” ซึ่งจะเสนอเนื้อหาครั้งล่ะจำนวนมาก บางครั้งอาจเต็มหนึ่งหน้ากระดาษและตามด้วยคำถามแบบปรนัยถ้าการตอบสนองของผู้เรียนแตกต่างกันไปก็จะดำเนินขั้นตอไปที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับคำตอบที่ผู้เรียนตอบสนองนั้นจึงเรียกว่าเป็นบทเรียนโปรแกรมแบบสาขา ส่วนความหมายของ “intrinsic” คือ การชี้แนวทางจากภายในโดยตัวผู้เรียนเอง
การพัฒนาของระบบ
ความหมายของ ระบบ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมาจากโปรแกรมฝึกอบรมทางการทหารของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะอาวุธยุธโธปกรณ์ที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน มีกลไกลมากมายจึงต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ฝ่ายการทหารจึงได้ออกแบบและจัดดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องขึ้นคำว่า ระบบ จึงเป็นมโนทัศน์ที่มาของระบบทั่วไป ระบบข้อมูล การสื่อสาร ทฤษฎีการเรียนรู้ และสิ่งอื่นๆ รูปแบบของระบบที่ได้พัฒนาไปต่างๆกันนั้น จะมีองค์ประกอบพื้นฐานอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
1.             ระบุปัญหาหรือความต้องการ
2.             บอกจุดมุ่งหมาย
3.             สร้าง ประเมินผล และนำไปใช้
ซึ่งระบบด้านการสอนก็เช่นเดียวกัน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกถึงก็คือ เทคโนโลยีของการสอนจะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคล กระบวนการ และเครื่องมืออุปกรณ์
อ้างอิงแหล่งข้อมูล
จากหนังสือสื่อการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย
ผู้แต่ง ผศ. ดร. วารินทร์ รัศมีพรหม  พิมพ์ครั้งที่ 1.. 2531 สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์ 469 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ