หน่วยที่ 1


เทคโนโยลีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย
ความหมาย
เทคโนโลยีทางการศึกษานั้น มีความหมายกว้างขวางพอกับความหมายว่า การศึกษา เทคโนโลยีทางการศึกษานี้เกี่ยวข้องกับการออกแบบ และการประเมินผลของหลักสูตรและประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ ตลอดจนปัญหาในการนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นการแก้ปัญหาทางการศึกษาอย่างมีหลักการและเหตุผล เป็นแนวคิดที่มีระบบเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอน
เทคโนโลยี (Technology)
Heinich และคณะ (Heinich, and Other, 1982 : 8) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้ดังนี้
1.เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นกระบวนการ (Technology as process) เป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์อย่างมีระบบหรือจัดความรู้อย่างมีระบบ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
2.เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นผลผลิต (Technology as product) หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์ (Hardware) หรือวัสดุ (Software) ที่เป็นผลผลิตจากการใช้กระบวนการด้านเทคโนโลยี เช่น สิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์
3.เทคโนโลยีในฐานะที่ผสมผสานทั้งกระบวนการและผลผลิต (Technology as a mix of process and product) หมายถึง
.การผสมผสานของกระบวนการกับผลผลิต เช่น เทคโนโลยีในระบบการส่งข้อมูลให้กระจ่ายออกไป ซึ่งต้องใช้ทั้งกระบวนการและเครื่องมือที่เป็นผลผลิต
.การแยกกระบวนการออกจากผลผลิตไม่ได้ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่าง hardware และ software ที่เราเรียกว่าโปรแกรม
การศึกษา (Education)
การศึกษา หมายถึง การผสมผสานกระบวนการทั้งหลายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถทัศนคติ และรูปแบบที่น่าพึงพอใจของพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมที่เขาอาศัยอยู่ (AECT, 1979)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
คณะกรรมการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (1979 : 12) ได้ให้คำอธิบายว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และบูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ้งเกี่ยวข้องกับบุคคล กรรมวีธี ความคิด เครื่องมือ และการจัดการ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา การจัดการวิธีแก้ปัญหา การปรับปรุงและการนำเอาการแก้ปัญหามาใช้ ซึ่งต้องใช้แนวทางทั้งหลายของการเรียนรู้ ในการแก้ปัญหาโดยวิธีทางเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น จะรวมเอาแหล่งความรู้ทั้งหลายที่ออกแบบ เลือกหรือนำมาใช้เพื่อมุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่ผู้เรียนประสบผลสำเร็จตามต้องการ
  


ผู้เรียน



ขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
มีดังนี้

หน้าที่ในการจักการศึกษา
การบริหารองค์การ
การบริหารงานบุคคล
หน้าที่ในการพัฒนาการศึกษา
การวิจัยและทฤษฎี
การออกแบบ
การผลิต
การประเมินผลและการเลือก
การสนับสนุน
การนำไปใช้ (การแจกแจง)


แหล่งการเรียน
สาร
บุคลากร
วัสดุ
เครื่องมือ
เทคนิค
สภาพแวดล้อม

    














จากตารางแยกอธิบายได้ดังนี้
1. หน้าที่ในการจัดการศึกษา  เป็นหน้าที่ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้แนวทาง และควบคุมการพัฒนาการศึกษาและการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. หน้าที่ในการพัฒนาการศึกษา  เป็นหน้าที่ในการวิเคราะห์ปัญหา การคิดหา วิธีแก้ปัญหา การนำไปใช้และประเมินผล โดยใช้แหล่งการเรียนทั้งหลาย
3. แหล่งการเรียน  หมายความรวมถึง สาร บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และสภาพแวดล้อมซึ่งจะนำมาใช้สำหรับผู้เรียนที่เรียนแบบอิสระ หรือเรียนรวมกัน เพื่อทำให้การเรียนรู้ง่ายและสะดวกสบายขึ้นแหล่งการเรียนรู้อาจแยกเป็น ก) แหล่งการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบขึ้นโดยเฉพาะและ ข) แหล่งการเรียนที่ค้นพบหรือประยุกต์นำมาใช้ในจุดมุ่งหมายของการเรียน
4. ผู้เรียน  ผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ทั้งนี้โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
Rowntree  (1974) ได้ชี้แนะให้เห็นว่า แต่เดิมนั้นเรามักจะมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นการนำเอาเครื่องมืออุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยผู้สอนให้สามารถจะสอนผู้เรียนซึ่งอาจมีจำนวนมากขึ้นให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายได้โดยเครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุนั้นเราเรียกว่า Hardware และ Software ในยุคนั้นจึงมีการประดิษฐ์คิดค้นสื่อเหล่านี้ขึ้นมากมายเราเรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีทางเครื่องมือ (Tools technology) แต่ในระยะ 20 ปีหลังนี้นักศึกษาได้มีความคิกกว้างขวางขึ้นโดยมุ่งไปที่การออกแบบระบบการศึกษาทั้งระบบแทนที่จะมุ่งเฉพาะระบบการเรียนการสอนเท่านั้นซึ่งตรงกับขอบเขตของเทคโนโลยีทางการศึกษาที่คณะกรรมการการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกาให้ไว้ จากนั้นมาเทคโนโลยีทางเครื่องมือ (Tools technology) จึงได้เปลี่ยนไปเป็นเทคโนโลยีทางระบบ (Systems technology) ที่มีพลังมากขึ้น
หลักของเทคโนโลยีทางการศึกษาไม่ใช่สิ่งใหม่ กล่าวได้ว่า เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อมนุษย์เริ่มมีการเรียนรู้ขึ้น แต่มีรูปร่างแน่ชัดโดยเฉพาะเมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรในปี ค.. 1930  โดยกลุ่มบุคคล ซึ่งมีราล์ฟ ไทเลอร์ (Ralph Tyler) ร่วมด้วย จากนั้นมาก็มีการเสนอวิธีการแบบวิทยาศาสตร์ในวงการศึกษา (Tyler, 1971) เรื่อยมาจนถึงการเสนอขั้นตอนการแก้ปัญหา โดยจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) และก็มีการเสนอแนวทางต่างๆ มากมายในเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งวิวัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษาจะกล่าวละเอียดในตอนประวัติของเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโยลีทางการสอน (Instructional Technology)
ความหมายของเทคโนโลยีทางการสอนค่อนข้างจะสับสนกับความหมายของคำว่าเทคโนโลยีทางการศึกษา แต่ในที่นี้จะให้ความหมายว่า เทคโนโลยีทางการสอนเป็นส่วนย่อยของเทคโนโลยีทางการศึกษาโดยอาศัยมโนทัศน์ที่ว่า การสอนเป็นส่วนย่อยของการศึกษา ซึ่งขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการสอนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา


ดังตารางข้างล่างนี้ขอบข่ายของเทคโนโลยีทางกาสอน
หน้าที่ในการจัดการสอน

การบริหารองค์กร
การบริหารงานบุคคล
หน้าที่ในการพัฒนาการสอน
การวิจัยและทฤษฎี
การออกแบบ
การผลิต
การประเมินผลและการเลือก
การสนับสนุน
การนำไปใช้
หน้าที่ของระบบการสอน
สาร
บุคลากร
วัสดุ
เครื่องมือ
เทคนิค
สภาพแวดล้อม



ผู้เรียน




กาเย (Gagne, 1987) ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการสอนไว้ว่า เทคโนโลยีทางการสอนเป็นการรวมกรรมวิธีต่างๆเพื่อถ่ายทอดการสอนทั้งหมดหรือบางส่วนของการสอนของผู้สอนออกไปซึ่งเทคนิคการถ่ายทอดนั้นจะมีจุดมุ่งหมายอย่างมีระบบ เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การถ่ายทอดนี้อาจใช้สื่อหรือไม่ก็ได้ และการเรียนนั้นอาจเกิดขึ้นในโรงเรียน ในสถาบันการศึกษา ในโรงงานอุตสาหกรรม ในศูนย์การเรียน หรือในบ้านก็ได้
เทคโนโลยีทางการสอนจะมีแวดวงที่เกี่ยวข้องและเทคนิคที่ประยุกต์ในการสอนอยู่หลายประการโดยแวดวงที่เกี่ยวข้องนั้นจะถูกนำมาใช้อย่างมีระบบ และเป็นลักษณะแบบวิชาการที่เชื่อถือได้ แหล่งความรู้หรือวิชาการเหล่านั้นอาจมีทั้งระบบของเครื่องมืออุปกรณ์ที่ได้มีการค้นคว้าประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หรือความรู้จากการวิจัยของนักจิตวิทยากลุ่มความรู้นิยม นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม ตลอดจนการค้นพบทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์ไปจนถึงเรื่องของวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานของความรู้และการแก้ปัญหาของมนุษย์


อ้างอิงแหล่งข้อมูล
จากหนังสือสื่อการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย
ผู้แต่ง ผศดรวารินทร์ รัศมีพรหม  พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.. 2531 สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์ 469 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ